ผู้เขียน หัวข้อ: กระชายพลัส: 5 วิตามิน ที่จำเป็น เสริมภูมิคุ้มกัน ให้กับร่างกาย  (อ่าน 107 ครั้ง)

siritidaphon

  • Sr. Member
  • ****
  • กระทู้: 370
    • ดูรายละเอียด
คนไทยกว่า 45.39% ให้ความสำคัญกับการดูแลสุขภาพร่างกายมากขึ้น หันมาการออกกำลังกาย การดูแลเรื่องอาหารการกิน การรับประทานอาหารครบ 5 หมู่ การหาตัวช่วยอย่าง ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารหรือวิตามินต่างๆ ที่ต้องนำมาช่วยเสริมภูมิคุ้มกัน เพื่อป้องกันโรคภัยไข้เจ็บต่างๆ

กว่า 3 ปีที่ทุกคนทั่วโลกต้องอยู่กับการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส ได้สร้างความวิตกกังวลเกี่ยวกับเรื่องสุขภาพ ทำให้หันมาใส่ใจดูแลสุขภาพให้แข็งแรง เพื่อเสริมสร้างภูมิคุ้มกัน ต้านทานโรคร้ายให้กับร่างกายอยู่สม่ำเสมอมากขึ้น

กลุ่มคนที่วิตกกังวลและได้รับความเสี่ยงคือ กลุ่มผู้สูงอายุ และกลุ่ม Gen Y เป็นกลุ่มผู้บริโภคที่มีความต้องการดูแลสุขภาพเป็นพิเศษมากกว่าคนกลุ่มอื่นๆ ทั้งนี้ข้อมูลทางการแพทย์ มีการออกแถลงการณ์ให้กับประชาชนให้รักษาสุขภาพให้แข็งแรงอยู่เสมอ จะช่วยสร้างภูมิคุ้มกันและป้องกันโรคได้

จึงกลายเป็นพฤติกรรมใหม่ วิถีการดำรงชีวิตทีเปลี่ยนไปในหลายๆด้าน ซึ่งหนึ่งในพฤติกรรมที่เปลี่ยนไปหมายรวมถึง การดูแลสุขภาพ ใส่ใจกับอาหารการกิน อาหารสะอาดถูกหลักอนามัยและมีประโยชน์กับร่างกายให้มากที่สุด รวมถึงการหาวิตามินอาหารเสริมเพื่อช่วยเสริมภูมิคุ้มกัน ต้านทานโรคภัยไข้เจ็บอีกด้วย

เมื่อทั่วประเทศต้องเผชิญกับปัญหาการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส จึงทำให้เกิดงานวิจัยที่เกิดจากความร่วมมือของคณะวิทยาศาสตร์ และ คณะแพทย์ศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล รวมทั้งศูนย์ความเป็นเลิศด้านชีววิทยาศาสตร์(องค์การมหาชน)  หรือ TCELS พบว่า สารสกัดกระชายขาวสามารถทำหน้าที่ยับยั้งการผลิตและการเจริญเติบโตของเชื้อไวรัส อีกทั้งยังสามารถลดจำนวนเซลล์ที่ติดเชื้อไวรัสได้กว่า 100% ด้วย จึงทำให้ผู้คนหันมาให้ความสนใจสมุนไพรไทยอย่าง “กระชายขาว” เป็นจำนวนมาก แต่อย่างไรก็ตาม การรับประทานกระชายขาว ก็ควรที่จะทานอย่างพอดี เเละเหมาะสม ไม่ควรทานมากเกินไป เพราะจะส่งผลเสียต่อร่างกายได้

หากมีความต้องการในการรับประทาน กระชายขาว ไม่ว่าจะในรูปแบบประกอบอาหาร หรือเเบบผลิตภัณฑ์เสริมอาหารในรูปแบบเม็ดเเคปซูล ควบคู่กับการรับประทานวิตามินอื่นๆ เพื่อเสริมสร้างภูมิคุ้มกัน ควรได้รับคำเเนะนำจากบุคลากรผู้เชี่ยวชาญ หรือ เภสัชกรก่อนการใช้ยา

วิตามินมีส่วนเกี่ยวข้องกับระบบทางด้านสมอง ระบบภูมิคุ้มกัน ระบบผิวหนัง ผม เล็บ ก็ต้องการวิตามินเช่นกัน วิตามินบางชนิดต้องรับประทานเข้าไป บางวิตามินรับจากร่างกายที่สร้างขึ้นเอง มีวิตามินมากกว่า 30 ชนิดที่ค้นพบว่า ต้องรับประทานเข้าไปเองโดยที่ร่างกายไม่สามารถสร้างขึ้นเองได้


วิตามิน คืออะไร

“วิตามิน” (Vitamin) เป็นสารอาหารที่จำเป็นต่อร่างกาย ถึงแม้จะต้องการปริมาณน้อยแต่ก็ขาดไม่ได้ เพราะถ้าขาดเมื่อไรส่งผลให้ร่างกายเจ็บป่วย วิตามินพบได้ในสารอาหารจำพวก ผัก ผลไม้ต่างๆ ซึ่งควรรับประมาณ 3-5 ส่วนต่อวันโดยประมาณ ซึ่งผักและผลไม้แต่ละชนิดจะมีปริมาณสารอาหารที่ควรทานแตกต่างกัน


“วิตามิน” ที่เหมาะสมกับร่างกายต่อวัน

    สำหรับผู้ใหญ่ที่แนะนำต่อวัน คือ ระหว่าง 60 มิลลิกรัม
    สำหรับหญิงตั้งครรภ์ให้นมบุตรต้องการวิตามินประมาณ 70–96 มิลลิกรัม

1 ในสารอาหาร 5 หมู่ ที่ร่างกายมีความจำเป็น และต้องการใช้ในแต่ละวันก็คือ วิตามิน เพื่อส่งผลการทำงานของระบบต่างๆในร่างกายให้ทำงานได้ตามปกติ ถึงแม้ว่าวิตามินจะไม่สามารถให้พลังงานโดยตรงกับร่างกายได้ แต่ร่างกายจำเป็นต้องได้รับปริมาณวิตามินที่เพียงพอในแต่ละวัน เพื่อไปทำหน้าที่เปลี่ยนอาหารให้เป็นพลังงาน


ชนิดของ “วิตามิน”  ตามการละลาย

วิตามิน ถูกแบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม ตามการละลาย ดังนี้

    วิตามินกลุ่มที่ละลายในไขมัน เป็นกลุ่มที่ไม่สามารถขับออกมาทางปัสสาวะได้ ร่างกายจะดูดซึมต่อเมื่อละลายในไขมันหรือน้ำมันเท่านั้น ทำให้มีข้อเสียคือ ร่างกายเกิดการสะสมากได้รับในปริมาณที่มากเกินไป คือ วิตามินดี (Vitamin D) , วิตามินอี (Vitamin E) , วิตามินเค (Vitamin K) และวิตามินเอ (Vitamin A)
    วิตามินกลุ่มที่ละลายในน้ำ คือ วิตามินซี (Vitamin C) , วิตามินบี (Vitamin B) สำหรับกลุ่มนี้ร่างกายจะสามารถขับออกมาเองได้ เมื่อได้รับปริมาณที่มากเกินไป เกินความจำเป็นต่อปริมาณวิตามินที่ร่างกายควรได้รับในแต่ละวัน วิตามินซี (Vitamin C) ร่างกายต้องการเพียงวันละ 10-15 มิลลิกรัมเท่านั้นต่อวัน วิตามินบี (Vitamin B) ร่างกายสามารถได้รับจากอาหารจำพวกนม ไข่แดง เนื้อสัตว์ หรือจมูกข้าว แนะนำสำหรับกลุ่มคนที่ทานมังสวิรัติและรับประทานอาหารเจ เป็นประจำ ควรรับประทานผลิตภัณฑ์เสริมอาหารที่มีวิตามินบี เพื่อไม่ให้ร่างกายขาดสารอาหาร

แหล่งที่มาของ “วิตามิน”

อาหาร ถือเป็นแหล่งที่มาของวิตามินที่ดีที่สุด ซึ่งวิตามินจะแตกต่างกันขึ้นอยู่กับชนิดของวิตามิน บางชนิดร่างกายไม่สามารถสร้างขึ้นได้เอง ต้องได้รับจากภายนอกโดยการรับประทานอาหาร วิตามินที่มีประสิทธิภาพสามารถหาได้จาก 4 แหล่งหลักๆ คือ

    วิตามินที่ได้จากผักและผลไม้ เช่น สตรอว์เบอร์รี มะละกอ ผักโขม มะละกอ ฝรั่ง ส้ม ตระกูลเบอร์รี่มังคุด ลำไย แอปเปิล กล้วย และถั่วต่างๆ
    การรับประทานวิตามิน จากผลิตภัณฑ์เสริมอาหารที่มาในรูปสารสกัดจากผัก ผลไม้หรือแหล่งที่มาอื่นๆของวิตามิน ซึ่งถือเป็นตัวช่วยที่ดีของผู้ที่มีเวลาดูแลตัวเองน้อย
    วิตามินที่ได้จากธรรมชาติ อย่างเช่น วิตามินดี (Vitamin D) จะได้รับผ่านแสงแดด เป็นการเพิ่มระดับวิตามินดีให้ร่างกายที่สามารถทำได้ง่ายๆ
    วิตามินที่ร่างกายสามารถเองได้ คือ วิตามินบี3 หรือ ไนอะซิน (Niacin) ร่างกายสามารถสร้างเองได้จากกรดอะมิโนทริปโตแฟน (Tryptpphan) หรือแม้แต่แบคทีเรียในลำไส้ใหญ่ ก็ช่วยสร้างวิตามินให้ร่างกายหลายชนิด

วิตามินซี (Vitamin C) และ วิตามินบี (Vitamin B) ควรรับประทานทุกวัน เพราะเป็นวิตามินกลุ่มที่สามารถละลายได้ในน้ำ และจะถูกกำจัดออกทางของเสียร่างกายทางเหงื่อและทางปัสสาวะ จะไม่ถูกสะสมหรือกักเก็บในร่างกายได้นาน และถึงแม้ว่าร่างกายจะได้รับวิตามินกลุ่มนี้มากเกินไป ส่วนเกินที่ร่างกายรับประทานเข้าไป วิตามินาก็จะถูกขับออกทางของเสียตามร่างกาย โดยไม่ทำให้เกิดพิษหรือเป็นอันตรายต่อร่างกายแต่อย่างใด

แต่นอกจากวิตามินซี (Vitamin C) และ วิตามินบี (Vitamin B) ก็ยังมีวิตามินเอ (Vitamin A) วิตามินดี (Vitamin D) วิตามินอี (Vitamin E) ที่มีประโยชน์ และร่างกายควรได้รับวิตามินอื่นๆที่มีความจำเป็นต่อร่างกายอย่างเพียงพอ เพื่อให้ร่างกายได้รับการบำรุง ซ่อมแซม และฟื้นฟูในส่วนที่สึกหรออยู่เสมอ
วิตามิน 5 ชนิดที่ช่วยเสริมภูมิคุ้มกันให้ร่างกายมีอะไรบ้าง

วิตามินมีส่วนช่วยเสริมภูมิคุ้มกันในร่างกายได้ แล้วแต่ประโยชน์ของวิตามินแต่ละชนิดที่ร่างกายคนต้องการในแต่ละวัน และในแต่ละคนก็มีความต้องการวิตามินที่แตกต่างกันอีกด้วยขึ้นอยู่กับปริมาณการขาดวิตามินในร่างกายของแต่ละคน แต่จะมีวิตามินอะไรบ้าง? ที่จะช่วยเสริมภูมิคุ้มกันให้ร่างกาย แล้วต้องรับประทานปริมาณเท่าไรต่อวัน เพื่อจะให้มีสุขภาพแข็งแรงเสริมภูมิคุ้มกันได้


วิตามินซี (Vitamin C)

เป็นวิตามินในกลุ่มที่ละลายในน้ำ ร่างกายไม่สามารถสร้างเองได้ จึงต้องรับวิตามินซีผ่านทางการรับประทาน โดยวิตามินซีจะมีปริมาณสูงในผักและผลไม้ เช่น ฝรั่ง มะขามป้อม พริกหวาน ผักคะน้า วิตามินซีมีประโยชน์มากมาย ช่วยเสริมระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายให้แข็งแรงและเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานในร่างกาย

วิตามินซีมีหน้าที่เป็นสารต้านอนุมูลอิสระ (Antioxidant) ช่วยป้องกันเซลล์จากความเสียหายที่เกิดจากอนุมูลอิสระภายในร่างกาย วิตามินซีเป็นวิตามินที่เสื่อมสลายได้ง่ายเมื่อโดนความร้อนทั้งจากสภาพอากาศหรืออุณหภูมิความร้อนจากการทำอาหาร อาจจะทำให้ร่างกายได้รับวิตามินซีไม่เพียงพอต่อวัน จึงต้องทานวิตามินซีเสริมในรูปแบบต่างๆ

วิตามิน

วิตามินซีมี 7 รูปแบบ ที่ถูกนำมาใช้กันอย่างแพร่หลายเพื่อให้ร่างกายได้รับวิตามินซี

    แบบเม็ดอมรูปวงรี เหมาะกับผู้ที่รับประทานยายาก ไม่ชอบกลืนเป็นเม็ด
    แบบอัดเม็ดรูปวงกลม จะมีขนาด 500-1000mg.
    แบบเม็ดเคี้ยว รูปแบบนี้เหมาะกับเด็กขนาดเม็ดเล็ก มีรสหวาน
    แบบแคปซูล มีขนาด สะดวกกับผู้รับประทาน กลืนลงคอได้ง่าย
    แบบเม็ดฟู่ เป็นแบบเม็ดโดยการละลายน้ำให้ฟองหมดแล้วรับประทาน เหมาะกับผู้สูงอายุป้องกันการสำลัก
    แบบผงละเอียด สามารถทานได้เลย มีขนาดเล็ก สะดวกพร้อมทานทุกที่ทุกเวลา
    แบบสารละลายเพื่อฉีด ทางการแพทย์นำมาฉีดเข้าร่างกายเพื่อเอาวิตามินซีไปบำรุงซ่อมแซมได้ทันที ไม่ต้องผ่านการย่อยจากกระเพาะอาหาร

ประโยชน์ที่ได้จากวิตามินซี (Vitamin C)

    ช่วยเสริมสร้างระบบภูมิคุ้มกัน คอยป้องกันไม่ให้เชื้อโรคเข้าสู่ร่างกาย
    ช่วยป้องกัน ยับยั้งการติดเชื้อไวรัสและแบคทีเรียได้
    ช่วยในการสร้าง โปรตีน คอลลาเจน และอิลาสติน (Elastin) ให้ผิวพรรณ
    ช่วยต่อต้านอนุมูลอิสระ ชะลอความแก่ และลดการเกิดริ้วรอยแห่งวัย
    ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการควบคุมระดับ คลอเรสเตอรอล
    ช่วยต้านทานสารภูมิแพ้ บรรเทาอาการแพ้ หอบหืด ไซนัส
    บรรเทาอาการความรุนแรงของโรคหวัดให้หายเร็วขึ้น
    ช่วยให้ร่างกายซ่อมแซมและรักษาตัวเอง
    ช่วยป้องกันโรคเกี่ยวกับดวงตา ปกป้องเลนส์ตาจากอันตรายต่างๆ
    ช่วยลดความเสี่ยงและป้องกันการเกิดโรคมะเร็ง

ปริมาณความต้องการวิตามินซีต่อวัน
ปริมาณวิตามินซี ที่แนะนำต่อวัน (mg.)    เหมาะกับผู้ที่มีอาการ
1000    

ผู้ที่ต้องการเสริมภูมิคุ้มกันให้ร่างกาย
1000    ผู้ที่ต้องการบำรุงร่างกาย เป็นภูมิแพ้
1000    ผู้ที่เป็นเบาหวาน
1000    ผู้ที่ต้องการบำรุงผิวพรรณ
3000-6000    สำหรับผู้ชายที่ต้องการเพิ่มจำนวนอสุจิ
1000-8000    ผู้ป่วยที่เป็นโรคหวัด



วิตามินบี (Vitamin B)

เป็นวิตามินในกลุ่มที่ละลายในน้ำได้ดี เป็นสารอาหารที่ช่วยบำรุงและฟื้นฟูร่างกาย ระบบประสาทและสมอง รวมถึงการเสริมสร้างภูมิคุ้มกันที่ช่วยให้ร่างกายทำงานได้อย่างราบรื่นเป็นปกติ ช่วยสร้างเม็ดเลือดเพื่อนำออกซิเจนไปเลี้ยงเซลล์ตามร่างกายได้อย่างทั่วถึง ส่งผลให้ร่างกายมีพลังงานเเละสมองสดชื่นตลอดทั้งวัน

วิตามินบีสามารถพบได้จากแหล่งธรรมชาติได้จากธัญพืชไม่ขัดสี พืชตระกูลถั่ว ข้าวกล้อง รำข้าว ยีสต์ เครื่องในสัตว์ เนื้อหมู ปลา นมเปรี้ยว และผักใบเขียวที่ช่วยให้สมองทำงานได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ วิตามินบีจะช่วยทำให้ร่างกายเผาผลาญอาหารกลุ่มคาร์โบไฮเดรต โปรตีน และไขมันถูกเปลี่ยนเป็นพลังงานได้อย่างเต็มที่
ประโยชน์ที่ได้จากวิตามินบี และปริมาณความต้องการต่อวัน


วิตามินเอ (Vitamin A)

วิตามินเอ มีส่วนประกอบสำคัญของคอร์เนีย มีผลต่อการเจริญเติบโต โครงสร้างกระดูกและระบบสืบพันธุ์ เป็นวิตามินอยู่ในกลุ่มที่ละลายในไขมัน นอกจากนี้ยังป้องกันการติดเชื้อระบบทางเดินหายใจ ระบบขับถ่ายของเสีย และระบบทางเดินอาหาร ยังทำให้ผิว และผมแข็งแรง

วิตามินเอ แบ่งออกเป็น 2 แบบ ถูกค้นพบโดย ดร. อี.วี. แมคคอลลัม (E.V. McCollum) นักวิทยาศาสตร์ชาวอเมริกัน

    รูปแบบที่กำลังจะเป็นวิตามินเอ (Provitamin A) หรือเรียกว่า แคโรทีน (Carotene) พบมากในผักผลไม้ที่มีสีเหลือง ส้ม แดงและเขียวเข้ม เมื่อรับประทานสารเข้าสู่ร่างกายแล้วจึงเปลี่ยนเป็น “วิตามินเอ”
    รูปแบบวิตามินสำเร็จ (Proformed Vitamin A) หรือเรียกว่า เรตินอล (Retinol) ซึ่งจะได้จากเนื้อสัตว์ พบมากใน น้ำมันตับปลา เครื่องในสัตว์ ไข่ นม เนยแข็ง

ประโยชน์ที่ได้จากวิตามินเอ (Vitamin A)

    ช่วยเสริมภูมิคุ้มกันสร้างภูมิต้านทานต่อเชื้อก่อโรค
    ช่วยป้องกันและบำรุงรักษาโรคตา
    ช่วยสมานแผลให้หายเร็วและลดระยะเวลาการเจ็บป่วย
    ช่วยลดการอักเสบที่เกิดจากผิวหนัง
    ช่วยส่งเสริมการเจริญเติบโตของร่างกาย


ปริมาณความต้องการวิตามินเอต่อวัน

IU คือหน่วยวัดมาตรฐานสำหรับยาหรือวิตามิน และสำหรับการรับประทานวิตามินเอนั้นคือ 1 IU = 1 ไมโครกรัม เป็นปริมาณสำหรับ ป้องกันการขาดวิตามินเอ

    เด็กแรกเกิดจนถึง 6 เดือน ควรได้รับวิตามินเอจากน้ำนมแม่เป็นหลัก
    เด็กทารกอายุ 6 เดือนถึง 9 ปี ควรได้รับวิตามินเอประมาณ 400 ไมโครกรัม แต่ไม่ควรเกิน 600 ไมโครกรัมต่อวัน
    วัยรุ่นอายุ 9 ปีจนถึง 16 ปี ควรได้รับวิตามินเอประมาณ 700 ไมโครกรัมต่อวัน
    ผู้ใหญ่ควรได้รับวิตามินเอประมาณ 800 ไมโครกรัม แต่ไม่ควรเกิน 3000 ไมโครกรัมต่อวัน


วิตามินดี (Vitamin D)

อยู่ในกลุ่มละลายในไขมัน มีสารเซกโคสเตอรอยด์ (Secosteroids) ซึ่งทำหน้าที่เสริมการดูดซึมแคลเซียม เหล็ก แม็กนีเซียม ฟอสเฟตและสังกะสี ซึ่งจำเป็นต่อการเจริญเติบโต และเสริมสร้างความแข็งแรงของกระดูกและฟัน ป้องกันการสูญเสียแคลเซียมจากกระดูก เพิ่มการหลั่งฮอร์โมนอินซูลิน (Insulin) และป้องกันโรคเบาหวาน


ร่างกายจะสามารถได้รับวิตามินดี จาก 2 ทางคือ

    ได้จากอาหาร 10-20% ตระกูลปลาแซลมอน ปลาแมคคอแรลที่สุก หรือปลาทูน่าและยังมีธัญพืชอาหารเช้า โยเกิร์ต น้ำส้ม นม ไข่แดง
    ได้จากแสงแดด 80-90% โดยผิวหนังจะต้องสัมผัสและโดนแสงแดดประมาณ 15 นาทีให้ได้ทุกวัน วิตามินดี จะสังเคราะห์ในผิวหนังจากรังสี UVB

ประโยชน์ที่ได้จากวิตามินดี (Vitamin D)

    ช่วยควบคุมระบบภูมิคุ้มกัน
    ช่วยป้องกันโรคกระดูกพรุน กระดูกบาง
    กระตุ้นเอนไซม์การพัฒนาของสมองและเซลล์ประสาท
    ช่วยลดความเครียดและต้านภาวะซึมเศร้า
    ช่วยลดอาการปวดข้อนิ้ว รูมาตอยด์
    ช่วยฟื้นฟูร่างกายผู้ป่วยโรคข้อเข่าเสื่อม
    ช่วยปรับสมดุลน้ำตาลในเลือด
    ช่วยลดฮอร์โมนพาราไทรอยด์ (Parathyroid Hormone)
    ช่วยลดความเสี่ยงโรคหลอดเลือดหัวใจ
    ช่วยป้องกันโรคภูมิแพ้ โรคแพ้ภูมิตัวเอง (SLE)

ปริมาณความต้องการวิตามินดีต่อวัน

ปริมาณวิตามินดีที่ร่างกายได้รับนั้น ขึ้นอยู่กับอายุของแต่ละบุคคล

    อายุน้อยกว่า 1 ปี ควรได้รับวิตามินดี วันละ 400 IU (10 ไมโครกรัม)
    อายุ 1-70 ปี ควรได้รับวิตามินดี วันละ 600 IU (15 ไมโครกรัม)
    อายุ 70 ปีขึ้นไป ควรได้รับวิตามินดี วันละ 800 IU (20 ไมโครกรัม)


วิตามินอี (Vitamin E)

อยู่ในกลุ่มละลายในไขมันได้ดี จัดเป็นหนึ่งในวิตามินที่สำคัญที่ร่างกายจำเป็นต้องได้รับ เป็นวิตามินชนิดที่ร่างกายไม่สามารถผลิตเองได้ ยังมีความสามารถต้านสารอนุมูลอิสระ ช่วยชะลอความแก่ ช่วยให้เซลล์ต่างๆ ไม่ได้รับอันตรายจากท็อกซิน ช่วยให้การทำงานของระบบต่างๆ ในร่างกายหลายระบบให้ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
วิตามินประโยชน์ที่ได้จากวิตามินอี

ประโยชน์จากวิตามินอี แบ่งออกเป็น 3 รูปแบบคือ

    วิตามินอีในรูปแบบยา โดยทางการแพทย์ใช้วิตามินอี เกี่ยวกับระบบภูมิคุ้มกัน (Immune system) ช่วยกระตุ้นกลไกการป้องกันของร่างกาย ระบบภูมิต้านทาน และเพิ่มกระบวนการฟาโกไซโทซิส (phagocytic function) ซึ่งเป็นกระบวนการดักจับเชื้อโรคและสิ่งแปลกปลอมของเซลล์
    วิตามินอีในรูปแบบอาหาร ส่วนใหญ่จะอยู่ในกลุ่มน้ำมัน เช่น น้ำมันจมูกข้าวสาลี น้ำมันดอกคำฝอย น้ำมันเฮเซลนัท เมล็ดทานตะวัน น้ำมันข้าวโพด น้ำมันถั่วเหลือง ช่วยบำรุงร่างกาย ป้องกันการเกิดโรค ลดภาวะความรุนแรงจากเชื้อก่อโรค
    วิตามินอีในรูปแบบเครื่องสำอาง วิตามินอีสามารถกรองรังสี UVB ได้จึงนำมาใช้เป็นส่วนผสมของครีมกันแดด ใช้เป็นส่วนผสมของครีมบำรุงผิวเพื่อเพิ่มความชุ่มชื้นให้กับผิวได้เป็นอย่างดี ต่อต้านริ้วรอย รอยแผลเป็นจางลง และรักษาผิวแตกลาย

ปริมาณความต้องการวิตามินอีต่อวัน

ตามคำแนะนำของ Recommended Dietary Allowance (RDA) หรือปริมาณสารอาหารที่ควรได้รับประจําวัน ของวิตามินอี

    อายุตั้งแต่ขวบแรกถึง 13 ปี ควรได้รับวันละ 6 มิลลิกรัม แต่ไม่ควรเกิน 11 มิลลิกรัมต่อวัน
    อายุตั้งแต่ 14 ปีขึ้นไปจนถึงผู้ใหญ่ ควรได้รับวันละ 15 มิลลิกรัม แต่ไม่ควรเกิน 19 มิลลิกรัมต่อวัน

หน้าที่ของวิตามินอี

    เป็นสารต้านอนุมูลอิสระทำหน้าที่ป้องกันความเสียของเซลล์
    ป้องกันการเกิดออกซิเดชันของสารในกลุ่มไขมัน
    สามารถช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของวิตามินเอได้ดียิ่งขึ้น
    เป็นยาต้านการแข็งตัวของเลือดและเป็นยาขยายหลอดลม
    ลดกระบวนการอักเสบของร่างกาย
    รักษาสมดุลของร่างกายกระตุ้นกลไกป้องกันของร่างกาย



กระชายพลัส: 5 วิตามิน ที่จำเป็น เสริมภูมิคุ้มกัน ให้กับร่างกาย อ่านบทความเพิ่มเติมคลิ๊กที่นี่ https://mmed.com/products/

 

ลงประกาศฟรี ติดอันดับ Google โฆษณาฟรี ประกาศฟรี ขายฟรี ลงประกาศขายบ้าน ขายที่ดิน ขายคอนโด ขายรถยนต์ เครื่องใช้ไฟฟ้า สินค้าอุตสาหกรรม อาหารเสริม เครื่องสำอางค์ สถานที่ท่องเที่ยว โปรโมทเว็บไซต์ฟรี