ผู้เขียน หัวข้อ: การดูดเสมหะก่อนการให้อาหารสายยาง  (อ่าน 76 ครั้ง)

siritidaphon

  • Sr. Member
  • ****
  • กระทู้: 370
    • ดูรายละเอียด
การดูดเสมหะก่อนการให้อาหารสายยาง
« เมื่อ: 22 มิถุนายน 2024, 20:22:42 pm »
การดูดเสมหะก่อนการให้อาหารสายยาง

การให้อาหารทางสายยาง เป็นการให้อาหารแก่ผู้ป่วยที่ไม่สามารถรับประทานอาหารเองได้หรือผู้ป่วยที่มีปัญหาในเรื่องของการกลืนอาหาร โดยอาหารที่ใช้นำไปให้ผู้ป่วยนั้น จะต้องเป็นอาหารที่สามารถย่อยได้ง่ายและมีคุณค่าทางโภชนาการที่ครบถ้วน ทั้งยังต้องมีการคำนวณปริมาณการให้อาหารโดยนักโภชนาการเพื่อให้ผู้ป่วยได้รับสารอาหารที่เพียงพอต่อการของร่างกายในแต่ละวัน การให้อาหารทางสายยาง มีด้วยกัน 3 แบบคือการใส่สายยางให้อาหารทางจมูกลงไปกระเพาะอาหาร การใส่สายยางให้อาหารทางปากลงสู่กระเพาะอาหารและสุดท้ายการใส่สายยางให้อาหารโดยการเจาะผ่านผนังหน้าท้องตรงเข้าสู่กระเพาะอาหาร ซึ่งแบบที่ 3 ผู้ป่วยจะต้องเข้ารับการผ่าตัด เพื่อนำสายยางอาหารเข้าสู่ร่างกาย ต้องดูแลในเรื่องของความสะอาดทุกขั้นตอนไม่ว่าจะเป็นการให้อาหารในรูปแบบใด ทั้งนี้อาหารที่ใช้ในการให้อาหารทางสายยางส่วนใหญ่มีด้วยกัน 3 ประเภทก็คือ อาหารปั่นผสมซึ่งจะเป็นสูตรของโรงพยาบาล และอาหารชงที่มีขายตามร้านขายยาทั่วไป


และสุดท้ายคือนม การให้อาหารทางสายยางแก่ผู้ป่วยจะต้องมีการดูแล โดยผู้ดูแลที่มีความเชี่ยวชาญในการให้อาหารเพราะจะต้องเป็นผู้เตรียมอาหาร รวมไปถึงขั้นตอนการให้อาหารทางสายยางการให้อาหารทางสายยาง จะต้องปฏิบัติตามขั้นตอนที่ถูกต้อง โดยการเตรียมอาหารต้องมีการเตรียมอุปกรณ์เครื่องไม้เครื่องมือหรือภาชนะใส่อาหาร จะต้องมีความสะอาดต้องผ่านกระบวนการฆ่าเชื้อ เพื่อให้ผู้ป่วยได้รับอาหารที่มีความสะอาดและปลอดภัยมากที่สุด เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดภาวะแทรกซ้อนหรือปัญหาอื่นตามมา ซึ่งก่อนการให้อาหารผู้ดูแลจะต้องทำการประเมินสภาพของผู้ป่วยและประเมินภาวะเสี่ยง นั่นก็คือระดับความรู้สึกตัวหรือประวัติการสำลักอาหาร ซึ่งการใส่ท่อหลอดลมอาการท้องอืดหรือข้อจำกัดต่าง ๆ


ต่อมาคือการทดสอบตำแหน่งของสายยางให้อาหารก่อนให้อาหารทางสายยางทุกครั้งผู้ดูแลจะต้องตรวจสอบให้แน่ใจว่าสายยางให้อาหารอยู่ในกระเพาะอาหารโดยใช้ Syringe ดูดของเหลวภายในกระเพาะ ซึ่งมีลักษณะเป็นน้ำย่อย ถ้าได้แสดงว่าสายอยู่ในกระเพาะอาหารแล้ว ถ้าไม่ได้ให้ดันลม 5-10 CC เข้าไปกระเพาะอาหารและใช้หูฟังฟังบริเวณหน้าท้องส่วนบนด้านซ้าย ถ้าได้ยินเสียงลมผ่านเข้าแสดงว่าสายอยู่ในกระเพาะอาหารแล้ว และต้องดูดลมกลับมาทุกครั้งหลังดูดของเหลวภายในกระเพาะ จากนั้นตามด้วยน้ำอุ่น 20-50 CC หลังจากนั้นทำการติดพลาสเตอร์เพื่อทำสัญลักษณ์ในตำแหน่งของสายยางให้อาหารเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดการเคลื่อนของสายยางให้อาหาร


ซึ่งก่อนการให้อาหารนั้นก็จะมีวิธีการดูดเสมหะออกเสียก่อน โดยจะกระตุ้นให้ผู้ป่วยไอเพื่อเอาเสมหะออกมาสำหรับผู้ป่วยที่ไอแล้วเอาเสมหะออกมาไม่ได้ ผู้ดูแลควรช่วยดูเสมหะให้ผู้ป่วยก่อนการให้อาหารทุกครั้ง และต้องล้างมือให้สะอาดก่อนการให้อาหาร ผู้ดูแลจะต้องเช็ดปลายสายยางด้วยสำลีชุบน้ำต้มสุกแล้วต่อสายเข้ากับกระบอกให้อาหาร และทดสอบว่ามีอาหารค้างอยู่ในกระเพาะหรือไม่ โดยการดูดอาหารออกมาจากกระเพาะถ้าได้ปริมาณมากกว่า 50 CC ให้ดันอาหารกลับเข้าไปและเลื่อนเวลาให้อาหารออกไป


ถ้าน้อยกว่าให้ดันกลับคืนและให้อาหารต่อไปได้ แต่ถ้าดูดแล้วไม่ได้อะไรออกมาให้ใส่ลม 5 CC ดันเข้าไปในกระเพาะอาหารขณะที่ดันลมแนบหูฟังเสียงลมผ่านเข้าที่บริเวณลิ้นปี่ถ้าได้ยินเสียงลมแสดงว่าปลายสายยางอยู่ในกระเพาะอาหารสามารถทำการให้อาหารทางสายอย่างได้ จากนั้นให้เทอาหารใส่ลงในกระบอกให้อาหารโดยยกกระบอกสูงกว่าตัวผู้ป่วยประมาณ 1 ฟุตและปล่อยให้อาหารไหลเข้าสายยางช้า ๆและเติมอาหารเมื่อใกล้หมดไม่ให้อากาศเข้าได้ ทั้งนี้อาหารปั่นผสมที่จะต้องนำไปให้ผู้ป่วยจะต้องมีความเหลวที่พอดี เพื่อไม่ให้เกิดการติดขัดของสายยางให้อาหาร ทั้งยังต้องป้องกันไม่ให้ลมเข้าสู่สายยาง เพื่อป้องกันการเกิดปัญหาขณะให้อาหาร


สำหรับในกรณีของการให้ยาแก่ผู้ป่วยทางสายยาง ถ้าหากผู้ป่วยต้องรับยาให้เติมน้ำ 50 CC ที่สายเช็ดปลานสายให้สะอาดยกปลายสายสูงขึ้น และปิดจุกที่ปลายสายให้แน่น นอกจากนี้การจัดท่าให้ผู้ป่วยนั่งหรืออยู่ในท่าที่ศีรษะสูงหลังให้อาหารนานประมาณ 30-60นาทีก่อนที่จะให้นอนราบเพื่อป้องกันไม่ให้ผู้ป่วยเกิดการสำลักอาหาร ซึ่งอาจจะทำให้ผู้ป่วยได้รับอันตรายได้ เห็นไหมว่าการให้อาหารทางสายยางจะต้องมีวิธีการและขั้นตอนที่ถูกต้อง เรื่องบางอย่างที่สำคัญเช่นการทดสอบผู้ป่วยก่อนการให้อาหารสังเกตอาการของผู้ป่วยว่าอยู่ในสถานะไหน พร้อมที่จะรับอาหารหรือไม่ ผู้ดูแลต้องตรวจสอบให้ดีก่อนการให้อาหารทุกครั้ง เพื่อความปลอดภัยของผู้ป่วย ทุกขั้นตอนในการให้อาหารทางสายยังถือเป็นเรื่องที่สำคัญมากผู้ดูแลจะต้องมีความรู้ความเชี่ยวชาญและมีวิธีการแก้ไขปัญหาได้อย่างทันที


หากผู้ป่วยมีอุปสรรคในการให้อาหารในเรื่องของความสะอาดของอาหารก็ถือว่าเป็นเรื่องที่ต้องคำนึงให้มากเป็นพิเศษ ถ้าผู้ป่วยได้รับอาหารที่ไม่สะอาดอาจจะทำให้เกิดอาการปวดท้องหรือภาวะแทรกซ้อนอื่น ๆ ตามมา ก็ยิ่งจะทำให้ผู้ป่วยมีสุขภาพร่างกายที่แย่ลงอีก  ดังนั้นไม่ว่าจะเป็นขั้นตอนการให้อาหารหรืออาหารทางสายยางของผู้ป่วยก็ถือว่าเป็นเรื่องที่ต้องระมัดระวังและดูแลให้มากเป็นพิเศษ เพราะไม่ฉะนั้นแล้วผู้ป่วยอาจจะได้รับอันตรายถึงแก่ชีวิตได้

 

ลงประกาศฟรี ติดอันดับ Google โฆษณาฟรี ประกาศฟรี ขายฟรี ลงประกาศขายบ้าน ขายที่ดิน ขายคอนโด ขายรถยนต์ เครื่องใช้ไฟฟ้า สินค้าอุตสาหกรรม อาหารเสริม เครื่องสำอางค์ สถานที่ท่องเที่ยว โปรโมทเว็บไซต์ฟรี